“ … วัคซีนในยามวิกฤตินั้นต้องใช้ความรู้เชิงประจักษ์ หลีกเลี่ยงความเสี่ยง ลดความผิดพลาด
ไม่ใช่เวลามาผสมสูตรเครื่องดื่ม ชงเอง แต่ให้ทุกคนชิม แล้วรับความเสี่ยงไปว่าจะได้ผลอย่างไรในยามวิกฤติ
ที่สำคัญคือควรมีการตรวจสอบเรื่อง conflict of interest ของกลุ่มคนที่ไปให้ input เชิงวิชาการ และอยู่ในกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบาย เกี่ยวข้องกับการจัดสรร และกำหนดเกณฑ์ต่างๆ ในการใช้
ไม่สมควรนำวัคซีนที่บริจาคมา ไปใช้วิจัย เพราะนี่คือยามวิกฤติ ที่ต้องการนำอาวุธไปใช้ทันที”
#ร่วมแรงร่วมใจฝ่ามหันตภัยโควิด
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“วัคซีน Pfizer ฉีดแบบ 2 เข็มให้ครบนั้นถือเป็นมาตรฐานที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีสรรพคุณในด้านการป้องกัน และเป็นที่ยอมรับระดับสากล
กลุ่มประเทศยุโรปหลายประเทศประสบปัญหาการฉีดวัคซีน Astra แล้วมีเคสลิ่มเลือดอุดตันในสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนอายุน้อย จึงมีการหาวัคซีนมาแทน โดยหันมาใช้วัคซีน mRNA อย่าง Pfizer มาเป็นเข็มสอง เราจึงเห็นการใช้ Astra-Pfizer และมีการศึกษาตรวจระดับภูมิคุ้มกันและผลด้านการป้องกันตามมา
ดังนั้นจึงสมควรพิจารณาที่จะใช้วัคซีนที่ได้รับบริจาคมาโดยอิงตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่มีทั้งเรื่องภูมิคุ้มกัน และประสิทธิผลในการป้องกัน
"ควรให้ Pfizer 2 เข็มเป็นมาตรฐานให้ครบโดส ไม่ใช่แค่บูสต์เข็มสาม"
สำหรับคนที่อายุน้อยกว่า 60 ปีที่ได้ Astra ไปเข็มแรก ควรให้ Pfizer เป็นเข็มสอง
ส่วนคนอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ใช้ Astra 2 เข็ม ยกเว้นกรณีแพ้ ก็ให้ Pfizer
คนที่เคยฉีดวัคซีนอื่นมา หรือยังไม่เคยได้รับวัคซีน หากเป็นด่านหน้า ก็ควรใช้เกณฑ์เดียวกันกับที่ระบุข้างต้น
วัคซีนในยามวิกฤตินั้นต้องใช้ความรู้เชิงประจักษ์ หลีกเลี่ยงความเสี่ยง ลดความผิดพลาด
ไม่ใช่เวลามาผสมสูตรเครื่องดื่ม ชงเอง แต่ให้ทุกคนชิม แล้วรับความเสี่ยงไปว่าจะได้ผลอย่างไรในยามวิกฤติ
ที่สำคัญคือควรมีการตรวจสอบเรื่อง conflict of interest ของกลุ่มคนที่ไปให้ input เชิงวิชาการ และอยู่ในกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบาย เกี่ยวข้องกับการจัดสรร และกำหนดเกณฑ์ต่างๆ ในการใช้
ไม่สมควรนำวัคซีนที่บริจาคมาไปใช้วิจัย เพราะนี่คือยามวิกฤติ ที่ต้องการนำอาวุธไปใช้ทันที”
Comments