กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ หรือ Community Isolation เพื่อรองรับผู้ป่วยที่มีผลตรวจรับรองว่าติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ 6 กลุ่มเขต โดยแยกผู้ป่วยออกมาจากบ้าน นำมาพักคอยที่ศูนย์ฯ มีการคัดกรองอาการและดูแลในเบื้องต้น เพื่อรอการส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาล ลดปัญหาการแพร่ระบาดและติดเชื้อของคนในครอบครัวและชุมชน
การจัดตั้งศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อได้พิจารณาถึงความเหมาะสมของสถานที่ ความสะดวกในการเดินทางเข้า-ออก ปรับปรุงสถานที่ด้านสุขอนามัย จุดคัดกรองผู้ป่วย จุดวัดอุณหภูมิและวัดค่าออกซิเจน จุดบริการอาหารและน้ำดื่ม ติดตั้งเตียงจัดวางที่นอน ติดตั้งระบบไฟฟ้าเพิ่มเติม ระบบเสียงตามสาย ระบบรักษาความปลอดภัย CCTV ระบบอินเตอร์เน็ต พัดลม ฉีดพ่นยากำจัดยุงลาย ทำความสะอาดห้องน้ำและห้องสุขา ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบกำจัดขยะทั่วไปและขยะติดเชื้อ ตลอดจนสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง โดยคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุด
ศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อผู้ป่วยที่มีผลตรวจรับรองว่าติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ 6 กลุ่มเขต จำนวน 14 ศูนย์ สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 2,176 เตียง โดยจะขยายเพิ่มเติมให้ครบ 23 แห่ง เพื่อให้สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 3,103 คน ประกอบด้วย
กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ
-เขตบางเขนใช้พื้นที่ศูนย์กีฬารามอินทรา รองรับได้ 150 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์
-เขตจตุจักรใช้พื้นที่ศูนย์กีฬาประชานิเวศน์ รองรับได้ 180 เตียง และศูนย์สร้างสุขทุกวัยจตุจักร รองรับได้ 120 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลกลาง
-เขตดอนเมืองใช้พื้นที่ศูนย์สร้างสุขทุกวัยดอนเมือง รองรับได้ 150 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลกลาง
-เขตหลักสี่ใช้พื้นที่โรงเรียนการไปรษณีย์ รองรับได้ 120 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลกลาง
-เขตลาดพร้าวใช้พื้นที่สำนักงานสนับสนุนและส่งเสริมวิชาการ 2 ซ.ประดิษฐ์มนูธรรม 19 รองรับได้ 100 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลกลาง ทั้ง 2 ศูนย์อยู่ระหว่างดำเนินการ
กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง
-เขตพระนครใช้พื้นที่อาคารปฏิบัติธรรม วัดอินทรวิหาร รองรับได้ 200 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
-เขตดินแดงใช้พื้นที่อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนฯ ไทย-ญี่ปุ่น รองรับได้ 150 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
-เขตห้วยขวางใช้พื้นที่อาคารทางเข้า RCA ฝั่ง TOP รองรับได้ 145 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ทั้ง 2 ศูนย์อยู่ระหว่างดำเนินการ
กลุ่มเขตกรุงเทพใต้
-เขตคลองเตยใช้พื้นที่วัดสะพาน รองรับได้ 250 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลสิรินธร
-เขตสวนหลวงใช้พื้นที่วัดปากบ่อ รองรับได้ 140 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลสิรินธร
กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก
-เขตหนองจอกใช้พื้นที่ศูนย์สร้างสุขทุกวัยหนองจอก รองรับได้ 100 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลเวชการุณรัศมิ์
-เขตลาดกระบังใช้พื้นที่ร้านอาหารจงกั๋วเหยียน รองรับได้ 250 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
-เขตสะพานสูงใช้พื้นที่ศูนย์สร้างสุขทุกวัยสะพานสูง รองรับได้ 146 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลคลองสามวา
-เขตบางกะปิใช้พื้นที่ศูนย์สร้างสุขทุกวัยบางกะปิ รองรับได้ 150 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลบางนา อยู่ระหว่างดำเนินการ
-เขตคันนายาวใช้พื้นที่อาคารฝั่งตรงข้ามสยามอะเมซิ่งพาร์ค สวนสยาม อยู่ระหว่างสำรวจ
กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ
-เขตบางกอกน้อยใช้พื้นที่วัดศรีสุดารามวรวิหาร รองรับได้ 90 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลราชพิพัฒน์
-เขตคลองสานใช้พื้นที่อาคารกิจไพบูลย์ อิมพอร์ต รองรับได้ 130 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลตากสิน
-เขตทวีวัฒนาใช้พื้นที่ศูนย์สร้างสุขทุกวัยทวีวัฒนา รองรับได้ 110 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลตากสิน
-เขตธนบุรีใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อาคารพระยาสีหราชเดโชทัย รองรับได้ 100 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลตากสิน ทั้ง 2 ศูนย์อยู่ระหว่างดำเนินการ
กลุ่มเขตกรุงธนใต้
-เขตบางแคใช้พื้นที่ศูนย์สร้างสุขทุกวัยบางแค (เรืองสอน) รองรับได้ 150 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ฯ
-เขตบางขุนเทียนใช้พื้นที่ศูนย์สร้างสุขทุกวัยบางขุนเทียน รองรับได้ 120 เตียง อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
コメント